สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

 ISO-IEC 20000

มาตรฐานสำหรับการบริหารจัดการงานบริการ หรือ ISO/IEC 20000 ได้รับการปรับปรุงเป็นครั้งที่ และประกาศใช้งานเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมาในมาตรฐานการบริหารจัดการงานบริการ เวอร์ชันใหม่นี้ ได้ถูกแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน และมุ่งเน้นเรื่องการบริหารจัดการและการรับประกันคุณภาพงานบริการมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ลดทอนกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานให้น้อยลง และทำให้สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้งานกับองค์กรได้หลากหลายประเภท

ข้อแตกต่างระหว่างเวอร์ชันเก่ากับใหม่

ความแตกต่างของข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 20000 เวอร์ชัน 2018 (ใหม่) กับ เวอร์ชัน 2011 (เดิม) มีดังนี้

  • มาตรฐาน ISO/IEC 20000 เวอร์ชัน 2018 (ใหม่) มีโครงสร้างที่เป็นระบบบริหารจัดการที่ทำให้ง่ายเมื่อจำเป็นต้องบูรณาการ การบริหารจัดการร่วมกันกับข้อกำหนดมาตรฐาน ISO อื่น ๆ
  • เพิ่มข้อกำหนดที่เกี่ยวกับ “บริบทขององค์กร” (the context of the organization) และการบริหารจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสของการให้บริการ
  • เพิ่มกระบวนการใหม่ 4 กระบวนการ ได้แก่

              1.  Knowledge management

              2.  Asset management

              3.  Demand management

              4.  Service delivery

  • แยกกระบวนการออกจากกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ได้แก่
    • Incident management กับ Service request management แยกออกจากกัน
    • Service continuity management กับ Service availability management แยกออกจากกัน
    • Service level management กับ Service catalogue management แยกออกจากกัน
  • ใช้คำว่า “organization” แทนคำว่า “service provider”
  • ใช้คำว่า “internal supplier” แทนคำว่า “internal group”
  • ใช้คำว่า “external supplier” แทนคำว่า “supplier”
  • ใช้คำว่า “service availability” แทนคำว่า “availability”
  • ตัดข้อกำหนดการแต่งตั้งตัวแทนผู้บริหาร (ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้ง แต่ต้องมีผู้ดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการงานบริการ)
  • นิยามคำว่า “information security” ใหม่โดยให้ยึดตามความหมายเดียวกันกับที่นิยามไว้ในข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 27001
  • ตัดทิ้งข้อกำหนดเรื่องการจัดทำ availability plans และ capacity plans ออกไป และถูกทดแทนด้วยการกำหนดความต้องการด้าน availability และ capacity ของงานบริการ
  • ตัดทิ้งข้อกำหนดเรื่องการจัดทำ CMDB ออกไป มีเพียงแต่การบริหารจัดการ CI (Configuration Items)
  • ตัดทิ้งข้อกำหนดเรื่อง release policy ออกไป แต่ยังคงต้องกำหนด release type และ รอบระยะเวลาความถี่ของการ release
  • ตัดทิ้งข้อกำหนดเรื่อง continual improvement policy ออกไป และแทนที่ด้วยการกำหนด evaluation criteria สำหรับการปรับปรุงงานบริการ
  • โครงสร้างของข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 20000 เวอร์ชัน 2018 (ใหม่) ไม่ได้อ้างอิงแบบ PDCA เพียงอย่างเดียว แต่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อกำหนดมาตรฐานให้มีความทันสมัย และเหมาะสม
  • ย้าย Service Reporting ไปอยู่ในส่วนของ Performance Evaluation
  • ลดจำนวนเอกสารกระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติงานลงให้เหลือเท่าที่จำเป็นต้องใช้งานเท่านั้น


view